เป้าหมายหลัก

week5

เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจและตระหนักถึงสถานการณ์แหล่งน้ำในชุมชน/สังคม มีวิธีการเอาตัวรอดจากความแห้งแล้ง สามารถคิดค้น/พัฒนา นวัตกรรมที่ใช้ทดแทนแหล่งน้ำอย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์
Week
input
Process
Out put
Outcome







5
(10-14 มิ.. 56)



















โจทย์ :
นักเรียนจะมีวิธีการอย่างไรในการแก้ปัญหาภัยแล้ง
คำถาม :
เพราะเหตุใดจึงทำให้เกิดภัยแล้ง ทำอย่างไรให้ชีวิตอยู่รอดได้
เครื่องมือคิด :
- Walk and talk (ความเปลี่ยนแปลงของแหล่งน้ำ)
- Brainstorms (ฝนตกได้อย่างไร/สาเหตุของภัยแล้ง/วิธีการป้องกันหรือแก้ปัญหาภัยแล้ง)
เด็กในห้องเรียน (ความแตกต่างของเด็กแต่ละบุคคล ความสนใจ ครอบครัว)
ครู (กระตุ้นการเรียนรู้ อำนวยการเรียนรู้ )
ผู้ปกครอง ส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนบรรยากาศ/สื่อ
สระน้ำของโรงเรียน
แหล่งน้ำในชุมชน
ภาพความแห้งแล้วในภาคอีสาน

ชง :
ครูพานักเรียนไปสำรวจสระน้ำของโรงเรียนและกระตุ้นด้วยคำถาม “เพราะเหตุใด น้ำในสระจึงหายไป”
ครูและนักเรียนร่วมกันพูดคุยเกี่ยวกับแหล่งน้ำในพื้นที่ชุมชน
ครูนำภาพความแห้งแล้งในพื้นที่ภาคอีสานให้นักเรียนดู กระตุ้นด้วยคำถาม “สถานการณ์จากภัยแล้งนักเรียนจะมีวิธีการอย่างไรให้ชีวิตอยู่รอดได้”
เชื่อม :
นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชั้นเรียน
ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น กลุ่มละ คน     ศึกษาหาข้อมูลและวางแผน/เตรียมวิธีการให้ชีวิตอยู่รอดได้จากความแห้งแล้ง
แต่ละกลุ่มนำเสนอวิธีการ แลกเปลี่ยน/เสนอแนะ ในชั้นเรียน
ใช้ :
- นักเรียนแต่ละกลุ่มดำเนินงานตามแผนงานที่เตรียมไว้ เช่น การเตรียมดินเพื่อเพาะพันธุ์เมล็ดพืช  การปลูกต้นไม้ในพื้นที่แห้งแล้ง
- ชาร์ตสาเหตุและวิธีการแก้ปัญหาภัยแล้ง

ชิ้นงาน
- ชาร์ตสาเหตุและวิธีการแก้ปัญหาภัยแล้ง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
ศึกษาหาข้อมูลและวางแผน/เตรียม วิธีการให้ชีวิตอยู่รอดได้จากความแห้งแล้ง
นำเสนองานของตน
ลงมือปฏิบัติตามแผนงานที่เตรียมไว้
- Walk and talk ความเปลี่ยนแปลงของแหล่งน้ำ
- Brainstorms วิธีการให้ชีวิตอยู่รอดได้จากความแห้งแล้ง


ความรู้
1. ประกอบการ เศรษฐศาสตร์ :เลือกใช้อุปกรณ์การทดลองที่มีอยู่ในโรงเรียน/ชุมชนได้ประหยัด คุ้มทุน คุ้มค่า
2. สิ่งแวดล้อมและทรัพยากร : มีวิธีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้อยู่อย่างยั่งยืน
3. ความเป็นพลเมือง วัฒนธรรม ประเพณี :ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี รู้บทบาทหน้าที่ของตน
4.การดูแลสุขภาพ มีวิธีการดูแลตัวเองในสถานการณ์ความแห้งแล้ง
ทักษะ
1. ทักษะชีวิต
ทำเป็น มีวิธีการในการเอาตัวรอดจากความแล้ง
กินเป็น เลือกบริโภคสิ่งที่สะอาด ปลอดภัย
ใช้เป็น เลือกใช้เครื่องมือในการสร้างนวัตกรรมได้อย่างคุ้มค่า เหมาะสม และปลอดภัย
-อยู่เป็น ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
-ไปเป็น นำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
2. ทักษะการแก้ปัญหา มีวิธีการวางแผนการแก้ไขปัญหาจากการทำงานและปฏิบัติได้อย่างเป็นขั้นตอน
3. ทักษะการทำงานกลุ่ม :มีความเป็นผู้นำและผู้ตามที่เข้าใจและรับฟังผู้อื่นในการวางแผนการทำงานร่วมกัน
4. ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง : คิดค้น/ต่อยอด นวัตกรรมของตนเพื่อแก้ไขปัญหาได้
5. ทักษะการสื่อสาร สร้างความสัมพันธ์ ที่ดีต่อกันภายในกลุ่ม นำเสนอต่อเพื่อนและครูได้อย่างเข้าใจและน่าสนใจ
6. ทักษะ ICT : มีวิธีการในการศึกษาหาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ
คุณลักษณะ
1. เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
2. สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเองและเกิดประโยชน์ต่อผู้อื่น
3. สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้



บันทึกหลังการเรียนรู้
 



ภาพกิจกรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น