เป้าหมายหลัก

week3

เป้าหมายรายสัปดาห์ : ตระหนักถึงภัยที่เกิดขึ้นในสังคมเกี่ยวกับเหตุการณ์น้ำท่วม เหตุการณ์การจมน้ำ และหาวิธีป้องกัน/ช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นได้


Week
input
Process
Out put
Outcome







3
(27-31 .. 56)
โจทย์ ทำให้ก้อนหิน 2-10 กก. ลอยน้ำได้
คำถาม
    จะทำอย่างไร ให้ก้อนหินที่มีน้ำหนักมาก (2-10 กก.) สามารถลอยอยู่บนผิวน้ำได้ โดยใช้วัสดุที่มีอยู่ในโรงเรียนหรือชุมชน
เครื่องมือคิด
 -  Flow Chart / Mind mapping /  นิทานช่อง
(ขั้นตอนวิธีการทดลอง)
- Brainstorms (การทำวัตถุให้ลอยน้ำ)
เด็กในห้องเรียน (ความแตกต่างของเด็กแต่ละบุคคล ความสนใจ ครอบครัว)
ครู (กระตุ้นการเรียนรู้ อำนวยการเรียนรู้ )

บรรยากาศ/สื่อ
 - คลิปวิดิโอ “วิกฤตกาลน้ำแข็งขั้วโลกละลาย”
 - ก้อนหิน
 - ถังใส่น้ำ
 - น้ำ

ชง :
- ครูให้นักเรียนดูคลิปวีดิโอ “ช่วยคนจมน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา”
ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “หากนักเรียนเจอกับเหตุการณ์เช่นนี้ จะมีวิธีการป้องกันอย่างไร”
- ครูสร้างสถานการณ์จำลองจากการนำก้อนหินที่เตรียมไว้ให้นักเรียนดูและกระตุ้นด้วยคำถาม “จะทำอย่างไร ให้ก้อนหินที่มีน้ำหนักมาก (2-10 กก.) สามารถลอยอยู่บนผิวน้ำได้ โดยใช้วัสดุที่มีอยู่ในโรงเรียนหรือชุมชน”
เชื่อม :
- นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชั้นเรียน
- ครูแบ่งกลุ่มให้นักเรียน กลุ่ม จากนั้นนักเรียน ศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติม วางแผนร่วมกันภายในกลุ่ม
- แต่ละกลุ่มนำเสนอวิธีการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชั้นเรียน ผ่านชิ้นงานที่ตนสนใจ Flow Chart / Mind mapping /  นิทานช่อง
ใช้ :
- นักเรียนแต่ละกลุ่มสร้างชิ้นงาน "ก้อนหินลอยน้ำ
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอการทดลอง พร้อมอธิบายผลที่เกิดขึ้น
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ชิ้นงาน
 - Mind mapping /  นิทานช่อง/Flow Chart ขั้นตอนวิธีการทดลอง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

 ภาระงาน
ศึกษาหาข้อมูลและวางแผนการทดลองภายในกลุ่ม
- การนำเสนอวิธีการทดลอง
- การทดลอง “ก้อนหินลอยน้ำ”
- การสนทนา/ตอบคำถามเกี่ยวกับจะทำอย่างไรให้ก้อนหินลอยน้ำได้
ความรู้
1. ประกอบการ เศรษฐศาสตร์ :  นำอุปกรณ์ที่เหลือใช้ในชุมชน/โรงเรียน มาเพิ่มมูลค่า และประหยัดต้นทุนได้
2. สิ่งแวดล้อมและทรัพยากร : สร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
3. ความเป็นพลเมือง วัฒนธรรม ประเพณี :
   ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี มีความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกันรู้บทบาทหน้าที่ตนเอง
ทักษะ
1. ทักษะชีวิต
- ทำเป็น วางแผนและสร้างสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถทำให้วัตถุที่มีน้ำหนักมาก ลอยน้ำได้
-ใช้เป็น เลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสม ปลอดภัยต่อตนเองและผู้อื่น
-ไปเป็น นำสิ่งไปต่อยอดเพื่อนช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ เช่น น้ำท่วม
2. ทักษะการแก้ปัญหา เมื่อวัตถุไม่สามารถลอยในน้ำสามารถดัดแปลงและพัฒนาชิ้นงานของตนให้เหมาะสมได้
3. ทักษะการทำงานกลุ่ม :มีความเป็นผู้นำและผู้ตามที่เข้าใจและรับฟังผู้อื่นในการวางแผนการทำงานร่วมกัน
4. ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง คิดค้น/ต่อยอด นวัตกรรมของตนเพื่อแก้ไขปัญหาได้
5. ทักษะการสื่อสาร : สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันภายในกลุ่ม นำเสนอต่อเพื่อนและครูได้อย่างสร้างสรรค์
6. ทักษะ ICT :  มีวิธีการในการศึกษาหาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆได้อย่างครอบคลุม
คุณลักษณะ
1. เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
2. สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเองและเกิดประโยชน์ต่อผู้อื่น
3. สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
4. มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้และมั่งมั่นในการทำงาน

บันทึกหลังการเรียนรู้



ภาพกิจกรรม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น